ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วทั่วโลกคือ โอกาสสำคัญทางธุรกิจสำหรับ “ไต้หวัน” ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ของโลก และ “ไทย” ที่เป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และประกอบรถยนต์ และกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาคอาเซียน
เมื่อเร็ว ๆ นี้ สภาส่งเสริมการค้าและส่งออกไต้หวัน ประจำประเทศไทย หรือ TAITRA ได้จัดสัมมนาหัวข้อ “Shift Toward Future Mobility with Taiwan” ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญจากไต้หวันและไทยมาแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับเทรนด์อนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงโอกาสความร่วมมือระหว่างไต้หวันและไทย
นายแม็กซ์ จาง ผู้อำนวยการสภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกแห่งไต้หวัน ประจำประเทศไทย (TAITRA) กล่าวในพิธีเปิดงานสัมมนาว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกำลังเติบโตอย่างมาก เพราะยานยนต์ไฟฟ้าจะเป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน
ทั้งนี้ บริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไต้หวันมีบทบาทสำคัญในซัพพลายเชนอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของโลก ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง โดยเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนสำคัญ เช่น ระบบแบตเตอรี่ ระบบชาร์จไฟฟ้า ระบบส่งกำลังรถยนต์ (Powertrain System) ให้กับค่ายรถยนต์เทสล่า (Tesla) เป็นต้น และไต้หวันก็ครองส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 ของโลกในหลายกลุ่มสินค้าสำหรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เช่น IC Foundry, Printed Circuit Board และแผงวงจรหลัก (Motherboard)
“ไต้หวัน คือหนึ่งในผู้นำด้านการผลิตชิ้นส่วนสำคัญของยานยนต์ไฟฟ้า ขณะที่ประเทศไทยก็กำลังส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ดังนั้น นี่คือโอกาสสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยจะได้พิจารณาสร้างความร่วมมือและเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัทไต้หวัน เพื่อเติบโตไปพร้อมกับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตของโลกที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว”
ด้านนายเกียรติศักดิ์ จิระขจรวงศ์ นายกสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย ระบุว่า ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของอุตสาหกรรมรถยนต์โลกมานานทั้งด้านการประกอบรถยนต์และการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และตอนนี้ก็กำลังยกระดับอุตสาหกรรมไปสู่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า โดยรัฐบาลได้ออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน และตั้งเป้าให้ไทยเป็นศูนย์กลางผลิตยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ของโลก
“ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากต่างประเทศ เพื่อเรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ ๆ และร่วมพัฒนาธุรกิจกัน ซึ่งไต้หวันถือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่มีศักยภาพ มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านนี้เป็นพิเศษ ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสนใจที่รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์จากบริษัทไต้หวัน”
“ไต้หวัน” ชูจุดแข็ง R&D ซัพพลายเออร์คุณภาพเพียบ มีความยืดหยุ่นสูง
ผู้เชี่ยวชาญจากไต้หวันฉายภาพให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของไต้หวันที่ทำให้ผงาดขึ้นเป็นผู้ผลิตรายสำคัญในซัพพลายเชนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของโลก โดยปัจจุบัน ไต้หวันมีระบบนิเวศอุตสาหกรรมยานยนต์ครบวงจร มีซัพพลายเออร์ในส่วนของการรับจ้างผลิตชิ้นส่วนและอัฟเตอร์มาร์เก็ตของภาคยานยนต์เกือบ 3,000 ราย การผลิตส่วนใหญ่ใช้ระบบอัตโนมัติทำให้มีความยืดหยุ่นด้านการผลิตสูง อีกทั้งยังเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนา สามารถออกแบบและผลิตชิ้นส่วนที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของลูกค้า
นายเจสัน ลิน ผู้จัดการโครงการ สภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกแห่งไต้หวัน กล่าวว่า ปัจจุบัน นอกจากชิ้นส่วนยานยนต์จากไต้หวันจะเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในภูมิภาคอเมริกาเหนือและยุโรปแล้ว ตอนนี้ บริษัทไต้หวันก็ได้ส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์คุณภาพสูงมายังตลาดอาเซียน ตะวันออกกลาง และรัสเซียด้วย
ขณะเดียวกัน ได้เชิญผู้ประกอบการไทยไปร่วมงานแสดงสินค้าด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ไต้หวันในปี 2566 โดยมี 3 งานใหญ่ ได้แก่ งาน Taipei Int’l Automobile & Motorcycle Parts & Accessories Show (TAIPEI AMPA) ที่เน้นการแสดงสินค้ายานยนต์และชิ้นส่วน งาน Taipei Int’l Automobile Electronics Show (AUTOTRONICS TAIPEI) ที่เน้นสินค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ไฟฟ้า และงาน E-Mobility Taiwan 2035 (Hybrid) ที่เน้นยานยนต์ไฟฟ้าและระบบขนส่งอัจฉริยะ ซึ่งทั้ง 3 งานจัดขึ้นพร้อมกันระหว่างวันที่ 12-15 เมษายน 2566 ณ ศูนย์การประชุมและแสดงสินค้าไทเปหนานกัง (Taipei Nangang Exhibition Center)
ด้านนางแอนนี่ สือ รองผู้อำนวยการกอง สถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ITRI) ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต โดยอ้างอิงข้อมูลจาก Intel และ Statistics ว่า คาดการณ์ว่า ตลาดยานยนต์อัจฉริยะ (Connected Vehicles) ของโลกจะมีมูลค่าเพิ่มจาก 75,740 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565 เป็น 191,830 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2571 หรือเติบโตกว่า 2.5 เท่าตัว ส่วนตลาดยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous Driving Market) จะมีมูลค่าเพิ่มจาก 146,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565 เป็น 396,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568 หรือเติบโตกว่า 2.7 เท่า ทั้งนี้ ปัจจุบัน บริษัทผลิตชิ้นส่วนของไต้หวันเป็นซัพพลายเออร์สำคัญของค่ายรถยนต์ชั้นนำของโลก เช่น เทสล่า ฟอร์ด และโตโยต้า
สำหรับในอนาคต บริษัทไต้หวันมีศักยภาพสร้างความร่วมมือทางธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ด้านยานยนต์ในหลายกลุ่มสินค้า เช่น ระบบความปลอดภัยอัจฉริยะ (ADAS), ระบบข้อมูลผู้ขับขี่, ระบบความปลอดภัย/ระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์, บริการโลจิสติกส์ ADV, ระบบสื่อสารระหว่างยานยนต์ (Connect Vehicle Communication), ระบบส่งกำลังรถยนต์ (Powertrain System), ระบบป้องกันการชน และระบบ X-by-wire (ระบบการเปลี่ยนเลน ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ และระบบเบรกอัตโนมัติ)
ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในไทยเติบโตต่อเนื่อง อนาคตธุรกิจสถานีชาร์จไฟฟ้าสดใส
ดร.ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมกิตติศักดิ์ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (EVAT) กล่าวถึงการเติบโตของตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยว่า จากสถิติพบว่า ไทยมียอดสะสมการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท 228,894 คัน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากรัฐบาลได้ประกาศส่งเสริมการผลิตและใช้ยานยนต์ไฟฟ้า โดยตั้งเป้าหมายเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนยานยนต์สำคัญของโลก นอกจากนี้ ได้ตั้งเป้าว่า ไทยจะมียานยนต์ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (ZEV) ทั้งหมดภายในปี 2578 ด้วย ซึ่งเป้าหมายเหล่านี้คือโอกาสสำคัญของธุรกิจทั้งด้านการผลิตชิ้นส่วนและการประกอบยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ การสร้างสถานีชาร์จไฟฟ้า บริการระบบสับเปลี่ยนแพ็กแบตเตอรี่ และบริการขนส่งสาธารณะที่ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น
ด้านนายกิตติศักดิ์ เงินงอกงาม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน ด้านระบบพลังงาน บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงธุรกิจเกี่ยวกับชิ้นส่วนด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของเดลต้าฯ ว่า จุดแข็งด้านยานยนต์ไฟฟ้า (E-Mobility) ของเดลต้าฯ คือ ศักยภาพในการผลิตอุปกรณ์ที่อยู่ติดตั้งในยานยนต์ไฟฟ้า และระบบสถานีชาร์จไฟฟ้า โดยมีซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ
ภายนอกได้ด้วย ซึ่งระบบชาร์จไฟฟ้าของเดลต้ามีหลายขนาดครอบคลุมตั้งแต่การชาร์จที่บ้าน สถานีชาร์จสำหรับภาคธุรกิจ และสถานีชาร์จสาธารณะ นอกจากนี้ โซลูชันสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าก็ยังมีระบบกักเก็บพลังงานและระบบ PV ที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงกลางวัน และกักเก็บไว้ในระบบกักเก็บพลังงาน ซึ่งสามารถนำไฟฟ้าออกมาใช้ในเวลากลางคืนได้ ซึ่งปัจจุบัน ในประเทศไทยมีการใช้โซลูชันของเดลต้าอย่างแพร่หลา
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมไทยที่สนใจไปร่วมงาน Taipei Int’l Automobile & Motorcycle Parts & Accessories Show (TAIPEI AMPA) และ งานTaipei Int’l Automobile Electronics Show (AUTOTRONICS TAIPEI) และงาน E-Mobility Taiwan 2035 (Hybrid) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 เมษายน 2566 สามารถ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-651-4470 หรือทางอีเมล [email protected]
Source: เกาะกระแสยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกบูม ไต้หวันโชว์ศักยภาพ ดึงธุรกิจไทยร่วมมือ-ชมงานแฟร์สุดยิ่งใหญ่ปี 2566
More Stories
The Environmental Impact of Solar Energy: Why Hamro Solar LLC is Leading the Way
Hellstar Streetwear: Gear Up to Stand Out
Turkey Visa Free Countries and Process