หน่วยงานความปลอดภัยของสหรัฐอเมริการะบุมีผู้เสียชีวิตจากความบกพร่องของถุงลมนิรภัย Takata เพิ่มอีก 1 ราย
ปัญหาถุงลมนิรภัย Takata ยังคงไม่จบสิ้นหลังจากถูกเรียกคืนครั้งแรกตั้งแต่ปี 2013 หรือกว่า 8 ปีที่แล้วเมื่อพบว่าชิ้นส่วนกลไกภายในถุงลมจะเสื่อมสภาพเมื่อสัมผัสความชื้นและจะระเบิดออกด้วยความรุนแรงมากกว่าปกติพร้อมกับมีวัตถุมีคมปลิวออกมาทั่วห้องโดยสาร
คณะกรรมการเพื่อผู้บริโภคของประเทศออสเตรเลีย รายงานว่าจนถึงปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตจากถุงลมแบรนด์ดังกล่าวแล้ว 34 ราย และบาดเจ็บสาหัส 350 ราย โดยในจำนวนนี้มีชาวออสเตรเลียนเสียชีวิต 2 ราย
คาดการณ์ว่ารถยนต์ที่ได้รับผลกระทบจนต้องถูกเรียกคืนนั้นมีมากกว่า 100 คันจากทั้งหมดกว่า 25 แบรนด์ แต่ก็ยังมีรถยนต์ที่ไม่ได้ถูกนำกลับมาแก้ไขจึงมีรายงานการเสียชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัสอย่างต่อเนื่อง ขณะที่บริษัท Takata ต้องประกาศล้มละลาย
เจ้าของ Ford Ranger เหยื่อล่าสุด
หน่วยงานความปลอดภัยบนถนนหลวงของสหรัฐอเมริกาหรือ NHTSA รายงานว่า ผู้เสียชีวิตรายที่ 23 ในแดนมะกันเป็นเจ้าของ Ford Ranger ปี 2006 ซึ่งมีรายงานอุบัติเหตุในเดือนมิถุนายนทำให้ถุงลมนิรภัยระเบิดออกจนทำให้ผู้ขับขี่เสียชีวิต
เมื่อปี 2018 NHTSA ได้ออกประกาศว่ารถกระบะ Ranger บางรุ่นปีเข้าข่าย “ห้ามขับขี่” จนกว่าจะได้รับการแก้ไขปรับปรุงถุงลมนิรภัย หลังจากก่อนหน้านั้น มีรายงานผู้เสียชีวิต 2 ราย
ด้านโฆษกของ Ford เปิดเผยกับสำนักข่าว Reuters ว่า “บริษัทฯ ได้มีการติดต่อเรียกคืนรถไปยังเจ้าของรถที่เสียชีวิตมากกว่า 100 ครั้ง มีทั้งการส่งข้อความและการเดินทางไปถึงบ้าน พร้อมกับกำหนดช่วงเวลานำรถเข้ามาแก้ไขที่โชว์รูม”
อย่างไรก็ตาม การติดต่อดังกล่าวไม่ได้ผล เจ้าของรถไม่ได้นำกลับเข้ามาแก้ไขจนกระทั่งประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตในที่สุด
สำหรับในเมืองไทย สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ได้ออกมาเน้นย้ำให้ผู้บริโภคนำรถเข้าเปลี่ยนถุงลมนิรภัยที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งจะมีการสร้างแรงดันที่สูงผิดปกติ จนชิ้นส่วนในถุงลมแตกออกทำให้ผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารอาจได้รับบาดเจ็บหรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีจำนวนรถที่ได้รับการแก้ไขถุงลมนิรภัยแล้วกว่า 1 ล้านคัน แต่ยังคงมีรถยนต์อีกกว่า 6 แสนคัน ที่ยังมิได้นำรถเข้ารับการตรวจสอบและแก้ไข ด้วยปัญหานี้จะมีความเสี่ยงมากขึ้นหากเป็นรถยนต์ที่ใช้งานมานานและอยู่ในสภาพอากาศร้อนชื้นดังนั้นผู้ที่ใช้รถหรือกำลังจะซื้อรถมือสองที่ผลิตในปี พ.ศ 2539- 2561 (ค.ศ. 1996 – 2018) ของ 8 บริษัท (9 ยี่ห้อ) บางรุ่นที่ผลิตในช่วงปีดังต่อไปนี้ ควรตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว
1. TOYOTA รุ่นปี ค.ศ. 2001 – 2014
2. LEXUS รุ่นปี ค.ศ. 2006 – 2016
3. HONDA รุ่นปี ค.ศ. 1998 – 2014
4. FORD รุ่นปี ค.ศ. 1998 – 2014
5. MAZDA รุ่นปี ค.ศ. 1996 – 2014
6. NISSAN รุ่นปี ค.ศ. 2000 – 2015
7. MITSUBISHI รุ่นปี ค.ศ. 2005 – 2015
8. BMW รุ่นปี ค.ศ. 1998 – 2018
9. CHEVROLET รุ่นปี ค.ศ. 2007 – 2015
Source: เหยื่อถุงลม Takata ดับรายล่าสุดเจ้าของ Ford Ranger ถูกติดต่อเรียกคืนกว่า 100 ครั้ง
More Stories
Billionaire Studios Clothing: The Intersection of Luxury and Streetwear
The Essentials Hoodie: The Perfect Blend of Comfort and Design
Expert Guidance: Benefits of Consulting a Psychiatrist For Anxiety Disorders