- รถกระบะมีระบบนี้น้อยที่สุด
- ระบบช่วยเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติช่วยได้จริง โดยเฉพาะรถน้ำหนักมาก
- ข้อกำหนดให้มีระบบนี้เป็นมาตรฐานยังไม่ชัดเจน
- ข้อแนะนำของสถาบันความปลอดภัยต่อผู้ผลิตรถ
แม้ว่ารถกระบะจะมีความเสี่ยงต่อผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นมากกว่ารถประเภทอื่นในอุบัติเหตุ แต่สถาบันประกันภัยเพื่อความปลอดภัยบนทางหลวงสหรัฐฯ (IIHS) พบว่ารถประเภทนี้ติดตั้งระบบช่วยเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติหรือ AEB น้อยที่สุดจากรถทุกประเภท
รถกระบะมีระบบนี้น้อยที่สุด
จากการศึกษาโดย IIHS ในปี 2021 พบว่าระบบช่วยเบรกฉุกเฉินจะช่วยลดความเสี่ยงในอุบัติเหตุได้ แต่มีรถกระบะที่จดทะเบียนในสหรัฐฯ เพียง 5% เท่านั้นที่มีระบบนี้
เมื่อเทียบกันกับรถเก๋งที่มีระบบ AEB อยู่ที่ 10% และ SUV ที่ 18% นอกจากนี้ เรายังสามารถซื้อระบบช่วยเบรกฉุกเฉินเพื่อเป็นออพชั่นเสริมสำหรับรถกระบะเพียง 10% ของตลาด เมื่อเทียบกับ SUV และรถเก๋งที่ 22% เท่ากัน
Jessica Cicchino รองประธานฝ่ายวิจัยของ IIHS กล่าวว่า “รถกระบะหรือปิ๊คอัพคิดเป็น 1 ใน 5 ของรถยนต์ทั้งหมดบนถนนในสหรัฐฯ และขนาดที่ใหญ่ของมันทำให้สามารถเป็นอันตรายต่อคนที่อยู่ในรถที่เล็กกว่ารวมถึงคนเดินเท้าอีกด้วย”
“อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตยังคงติดตั้งระบบ AEB และระบบหลีกเลี่ยงการชนอื่น ๆ ในรถได้ช้ากว่าที่ควร”
ระบบช่วยเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติช่วยได้จริง
Cicchino ได้ตรวจสอบรายงานอุบัติเหตุจากตำรวจจาก 25 รัฐ ระหว่างปี 2017 – 2020 และได้คำนวนอัตราการชนท้ายกับรถคันอื่นโดยคิดเป็นสัดส่วนต่อรถที่จดทะเบียนในแต่ละปี พบว่า ระบบช่วยเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติสามารถช่วยลดการชนได้อย่างมากทีเดียว
รถกระบะที่มีระบบนี้สามารถลดอัตราการชนท้ายได้ถึง 43% เมื่อเทียบกับรถที่ไม่มี และยังลดอัตราการบาดเจ็บจากการชน 42% รวมถึงการบาดเจ็บอย่างรุนแรงและเสียชีวิตลดลงถึง 77% ซึ่งจากการศึกษานี้ระบุว่า ตัวเลขเหล่านี้ไม่ได้มีนัยสำคัญทางสถิติ
“ตัวเลขเหล่านี้ยืนยันได้ว่าระบบ AEB สามารถป้องกันการชนสำหรับรถกระบะได้ เช่นเดียวกันกับ รถยนต์นั่ง เอสยูวี และรถบรรทุกขนาดใหญ่ ผู้ผลิตรถยนต์ที่ทำให้รถกระบะทุกรุ่นมีระบบนี้ได้เร็วเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น” Cicchino กล่าว
อ่านเพิ่มเติม : ผลศึกษาชี้รถกระบะ-เอสยูวีเสี่ยงชนคนเดินถนนขณะเลี้ยวมากกว่ารถประเภทอื่น
ยิ่งรถมีน้ำหนักมากเท่าไหร่ ยิ่งควรมีมากเท่านั้น
รถที่ยิ่งมีน้ำหนักมากเท่าไหร่ ยิ่งจำเป็นที่จะมีระบบ AEB มากเท่านั้น สำหรับในสหรัฐฯ น้ำหนักเฉลี่ยของรถกระบะนั้นเพิ่มขึ้นจาก 1,996 กก. ในปี 2011 จนถึง 2,177 กก. ในปี 2021 ส่วนน้ำหนักเฉลี่ยของ SUV นั้นอยู่ที่ 1,860 กก. และน้ำหนักเฉลี่ยของรถเก๋งอยู่ที่ 1,450 กก. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่อธิบายได้ว่าทำไมรถกระบะจึงมีแนวโน้มที่จะคร่าชีวิตคนขับมากกว่า 2.5 เท่า เมื่อเทียบกับรถประเภทอื่น ในการชนระหว่างรถทั้งสองคัน
ไม่ได้มีเพียงรถประเภทอื่นเท่านั้น แต่คนเดินเท้าก็มีความเสี่ยงต่อรถกระบะด้วยเช่นกัน และรวมไปถึงรถ SUV ด้วย
อ่านเพิ่มเติม : น้ำหนักของรถยนต์ไฟฟ้ามีผลต่ออุบัติเหตุที่รุนแรงกว่าเมื่อเทียบกับรถน้ำมัน
ยังไม่มีข้อกำหนดให้มีระบบนี้เป็นมาตรฐานอย่างชัดเจน
ในข้อตกลงกันระหว่าง IIHS และ NHTSA ระบบเบรกฉุกเฉินเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตรถยนต์ติดตั้งด้วยความสมัครใจ อย่างไรก็ตาม รถกระบะที่มีน้ำหนักรวม (GVW) มากกว่า 3,800 กก. ต่อคัน นั้นยังไม่มีการกำหนดให้มีระบบนี้เป็นมาตรฐานจนถึงปี 2025 ซึ่งรวมถึงรถบรรทุกที่มีน้ำหนักรวม 4,500 – 6,350 กก. (10,001-14,000 ปอนด์) ก็ยังไม่มีการกำหนดให้มีระบบ AEB เป็นมาตรฐานด้วยเช่นกัน
“ข้อตกลงนั้นครอบคลุมถึงรถยนต์นั่งส่วนใหญ่ และอีกไม่นานกฎหมายของรัฐบาลกลางจะกำหนดให้มี AEB ครอบคลุมรถหัวลากอีกด้วย แต่จะมีช่องว่างระหว่างรถบรรทุกคลาส 3-6 ซึ่งหมายถึงรถกระบะที่มีขนาดใหญ่บางรุ่นและรถที่ใหญ่กว่า เช่น รถขยะ และรถโดยสาร” Cicchino เสริม
ข้อแนะนำของสถาบันความปลอดภัยในสหรัฐฯ
ด้วยเหตุนี้ IIHS จึงแนะนำให้ผู้ผลิตรถกระบะทุกรุ่นติดตั้งระบบช่วยเบรกฉุกเฉินที่สามารถทำงานในความเร็วสูงและสามารถตรวจจับผู้ใช้รถใช้ถนนได้ตลอดเวลา เนื่องจากมีการศึกษาพบว่า 28% ของการชนท้ายโดยรถกระบะในปี 2020 นั้นเกิดขึ้นที่ความเร็วมากกว่า 55 ไมล์/ชม. หรือ 88 กม./ชม. ขึ้นไป
ข้อมูลจาก NHTSA ยังชี้ว่าปี 2022 กำลังกลายเป็นปีแห่งอุบัติเหตุทางถนนที่อันตรายที่สุดปีหนึ่งในสหรัฐอเมริกาอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะมีระบบช่วยเหลือการขับขี่ที่มากขึ้นก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดตัวเลขที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญคือการเสียสมาธิจากการขับขี่
Source: วิจัยชี้ รถกระบะควรมีระบบช่วยเบรกฉุกเฉินเป็นมาตรฐาน เพราะเสี่ยงกว่ารถประเภทอื่น
More Stories
Hellstar Streetwear: Gear Up to Stand Out
Turkey Visa Free Countries and Process
Allison Transmission for Off-Roading: Performance Insights and Upgrades