ทำไมรถ 5 ยี่ห้อนี้ ยังพัฒนารถไฮโดรเจนต่อไป หรือคำตอบที่แท้จริงจะเกี่ยวกับเกมการเมือง?

ระบบขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงไฮโดรเจนฟิวเซลล์ นั้นถูกพิสูจน์แล้วว่ามีความยุ่งยากในการเก็บรักษา และต้องเริ่มต้นโครงสร้างพื้นฐานใหม่หมดสำหรับปั๊มจ่ายเชื้อเพลิงที่กักเก็บลำบาก และมีต้นทุนมหาศาลนี้ แต่ทำไมค่ายรถ 5 แห่งคือ Toyota Hyundai BMW Audi และล่าสุด Great Wall Motor ยังมุ่งมั่นทำรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบนี้ต่อไป

ข้อดี-ข้อเสีย รถฟิวเซลล์

ข้อดีของระบบฟิวเซลล์คือ ขับขี่ได้ระยะทางไกลเทียบเท่ารถน้ำมัน เติมเชื้อเพลิงได้ไวเท่ารถน้ำมัน แม้ว่าเชื้อเพลิงไฮโดรเจนจะมีราคาแพงกว่าน้ำมันอยู่บ้าง แต่ราคาก็มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ในทุกปี ระบบเชื้อเพลิงนี้เหมาะสมมากแก่ระบบขนส่งที่ใช้วิ่งทางไกล เช่น รถบรรทุก เรือสินค้า แล่นไปในที่ซึ่งไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงพอ

จุดด้อยของเครื่องยนต์ไฮโดรเจนก็คือการประสิทธิภาพด้านการใช้งานแบบครบวงจร (well-to-wheel efficiency) เนื่องจากต้องใช้ขั้นตอนการเก็บเชื้อเพลิงที่ซับซ้อน ทำให้รถเครื่องยนต์ไฮโดรเจนมีประสิทธิภาพดังกล่าวอยู่ที่เพียง 30 – 35% เท่านั้น น้อยกว่ารถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ซึ่งอยู่ที่ 75 – 85%

ค่ายรถที่ล้มเลิกไปแล้ว

ผู้ผลิตรถยนต์หลายค่ายได้ถอนตัวออกจากการพัฒนาเชื้อเพลิงไฮโดรเจนนี้แล้ว ได้แก่ Honda ในปี 2019 ส่วนทาง GM ยอมแพ้ในปี 2020 ในขณะเดียวกันนั้น Mercedes-Benz ก็ล้มโปรเจคในรถยนต์ หันไปพัฒนาฟิวเซลล์ในรถบรรทุกเท่านั้น และปิดประตูตายโดย Volkswagen ที่ออกแถลงการณ์ว่า รถไฮโดรเจนต้องการพลังงานมากกว่า 3-4 เท่าของรถยนต์ไฟฟ้าในระยะทางเท่ากัน ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น 3-4 เท่าตามระยะทางเดียวกันด้วย นี่เป็นเหตุผลว่าทำไม ค่ายรถยนต์ถึงเลิกลงทุนกับระบบนี้

อ่านเพิ่มเติม : ซีอีโอ Honda ลั่น! แผนเครื่องยนต์พลังไฮโดรเจนของ Toyota ไม่มีทางเป็นไปได้ จริงหรือ?

BMW กับ Toyota ยังพัฒนาจริงจัง

BMW ได้พัฒนารถ X5 ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนได้แล้ว โดยใช้เงินทุนส่วนหนึ่งจากรัฐบาลเยอรมัน โดยพร้อมจะปลอยรถทดสอบ 100 คันแรกออกวิ่งในปีนี้ และถ้าหากการทดลองความทนทานเป้นไปอย่างราบรื่น เราจะได้เห็นรถบีเอ็มฯ พลังไฮโดรเจนออกขายในปี 2030

Toyota (โตโยต้า) นอกจากออกรถรุ่น Mirai ที่สร้างสถิติวิ่งไกลกว่า 800 กม. โดยไม่หยุดเติมเชื้อเพลิงมาแล้ว ก็ยังดัดแปลงเครื่องยนต์ให้รองรับเชื้อเพลิงนี้แล้ว ซึ่งยอมรับว่าพัฒนาจริงไม่ใช่เรื่องง่ายดายนัก โดยไส้ในของเครื่องยนต์ถูกปรับเปลี่ยนหลายส่วน อย่างท่อร่วมไอดีและหัวฉีด รวมถึงฝาสูบเพื่อรองรับเชื้อเพลิงไฮโดรเจน และยังแบ่งรับแบ่งสู้ด้วยการลงทุนกับ EV อีกขาหนึ่งด้วย 

อ่านเพิ่มเติม: Toyota ดัดแปลงเครื่องยนต์เบนซินอย่างไรถึงรองรับเชื้อเพลิงไฮโดรเจนได้

Audi และ Hyundai ยังไม่กลับลำ

ทางด้าน Audi แม้ว่าจะอยู่ในกลุ่มโฟล์คที่ไม่เห็นด้วยกับเชื้อเพลิงไฮโดรเจน แต่ค่าย 4 ห่วงนี้ก็ยังมีวิศวกร 100 คนคอยพัฒนารถต้นแบบออกมาอยู่ในปัจจุบัน และยังมี Porsche เพิ่งเริ่มโครงการทำเครื่องใช้ไฮโดรเจนสมรรถนะสูง แต่ยังไม่มีความชัดเจนเป็นรูปร่างในตอนนี้

ทางด้าน Hyundai Nexo ก็ขายได้ 7,410 คันทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปีก่อนในช่วงเดียวกันถึง 26.2% กลายเป็นรถยนต์ไฮโดรเจนที่ขายดีสุดในโลกไปแล้วในตอนนี้ พร้อมประกาศแผนปรับโฉมใหม่ในปีหน้าด้วย 

อ่านเพิ่มเติม : BMW และ Toyota ร่วมกันพัฒนารถไฮโดรเจนฟิวเซล เตรียมผลิตขายจริงในปี 2025

GWM ใช้ทุนรัฐบาลจีนทำฟิวเซลล์

น้องใหม่ล่าสุด Great Wall Motor (เกรท วอลล์ มอเตอร์) ก็ได้รับทุนจากรัฐบาลหนุนหลังให้พัฒนารถฟิวเซลล์นี้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ระดับไฮเอนด์ พร้อมเปิดตัวแบรนด์ย่อยชื่อ Salon และเคยมีแผนที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปีนี้ แต่สถานการณ์โควิด-19 และการขาดแคลนชิป ทำให้ต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด

อ่านเพิ่มเติม : Great Wall Motor เล็งขายรถเอสยูวีฟิวเซล พร้อมเผยเหตุผลทำไมเชื่อมั่นในพลังไฮโดรเจน

BMW หาทางออกทั้ง 2 ฝั่ง

ประธานแผนกโครงการพัฒนาเชื้อเพลิงไฮโดรเจนของ BMW กล่าวว่า ระบบฟิวเซลล์ยังแพงเกินไปที่จะผลิตมาใส่รถยนต์ระดับแมสในตอนนี้ โดยเขาเชื่อว่ารถไฮโดรเจนยังเป็นองค์ประกอบเสริมต่อจากรถแบตเตอรี่ ซึ่งการไปถึงเป้าหมายมลพิษเป็นศูนย์นั้น มันควรจะมีหลายตัวเลือก ดีกว่าจำกัดแค่คำตอบด้านเดียวเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม: BMW ทดสอบ iX5 พลังไฮโดรเจนในอากาศหนาว แสดงความมุ่งมั่นการพัฒนารถ fuel-cell

สาเหตุเพราะเกมการเมือง

ส่วนสาเหตุที่ค่ายรถ 3 แห่งยังทุ่มทุนอยู่ จากการวิเคราะห์แล้วพบว่า เป็นเพราะพวกเขากำลังเดิมพันกับเกมการเมือง ที่อาจจะทำให้ไฮโดนเจนเป็นตัวถ่วงดุลย์ได้ เพราะว่าเชื้อเพลิงไฮโดรเจนส่วนใหญ่นั้น ผลิตโดยบริษัทน้ำมัน อันเป็นผู้มีสิทธิ์เสียงในเกมการเมืองหลายประเทศ และช่วยให้ผู้ผลิตน้ำมันเหล่านั้น เข้าสู่เกมการลดมลพิษได้ โดยไม่เสียอำนาจทางธุรกิจไป 

อีกทั้งยังสังเกตว่า การพัฒนารถไฮโดรเจน ต่างก็มีทุนจากรัฐบาลเยอรมัน และจีนหนุนหลังอยู่ แสดงให้เห็นว่าเกมการเมืองนั้นมีผลต่อพลังงานโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งผู้ผลิตรถยนต์ใหญ่ 5 ค่ายนี้ต่างรู้ดีกว่า กระแสการเมือง สามารถเอาชนะวิทยาศาสตร์ และยึดครองโลกมาแล้วหลายครั้ง

อ่านเพิ่มเติม: รถยนต์ Fuel-cell ยังไม่โต รวมความคืบหน้าเชื้อเพลิงไฮโดรเจนในปี 2022

Source: ทำไมรถ 5 ยี่ห้อนี้ ยังพัฒนารถไฮโดรเจนต่อไป หรือคำตอบที่แท้จริงจะเกี่ยวกับเกมการเมือง?